วีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ / Verapong Sritrakulkitjakarn

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

คน. บ้าวาดรูป (after Hokusai)






Woodcut / ภาพพิมพ์แกะไม้
150 x 115 cm.
2013 / 2556

BIG - BACK








“คิดได้ไง?! - The Sketch”






หอศิลป์ตาดูไทยยานยนตร์
ร่วมกับภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และกลุ่มเดอวาฟ
เสนอ
 “คิดได้ไง?! - The Sketch
 นิทรรศการแสดงต้นตอความคิดของศิลปิน : กฤช งามสม, สุวิทย์ มาประจวบ 
และประเสริฐ ยอดแก้ว                                                                                                                                                                           
 ณ หอศิลป์ตาดูไทยยานยนตร์ ระหว่าง 30 เมษายน –1 มิถุนายน 2556
*************************************************************

                หลายครั้งหลายคราวที่เราเกิดความพึงใจต่อผลงานศิลปะที่ถูกติดตั้งในหอศิลป์ ผลงานเหล่านี้เป็นดั่งประจักษ์พยานที่บ่งบอกถึงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน และคงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกว่าผลผลิตทางปัญญาจะเจิดจรัสต่อสายตาผู้ชม ความสำเร็จ ณ เบื้องหน้านี้ทำให้เรา “กลุ่มเดอวาฟ” นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ รุ่น 6 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกิดความสงสัยถึงกระบวนการคิดและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปิน เป็นเหตุให้กลุ่มเดอวาฟ สนใจที่จะค้นหาที่มา ที่เป็น ที่ไปของผลงานศิลปะ และนำเสนอออกมาในรูปของนิทรรศการชื่อ “คิดได้ไง?! - The Sketch นิทรรศการที่จะพาคุณซอกแซกถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงานของสาม ศิลปินร่วมสมัยมากความสามารถ ได้แก่ กฤช งามสม ศิลปินผู้มีชื่อเสียงในการสร้างงานศิลปะสื่อผสมจากวัสดุที่น่าสนใจพร้อมกลไก ประกอบเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม สุวิทย์ มาประจวบ ศิลปินผู้สร้างผลงานโดยนำแรงบันดาลใจมาจากสิ่งของเหลือใช้ที่คนทั่วไปมองว่า เป็นเพียงเศษขยะจนเกิดเป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และประเสริฐ ยอดแก้ว ศิลปินดาวรุ่งพุ่งแรงที่สร้างผลงานสะท้อนความเชื่อของผู้คนผ่านทางวัสดุ ใหม่ๆ ที่ถูกนำมาแทนความหมายของสิ่งต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ทั้งสามล้วนเคยแสดงผลงานทั้งในและต่างประเทศมาแล้วมากมาย การจัดแสดง “ความคิด” ของศิลปินรุ่นใหม่กลุ่มนี้จะต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเสาะแสวงหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้ไม่น้อย     
                 “คิดได้ไง?! - The Sketch นำเสนอแบบร่างในรูปแบบที่แตกต่างของ 3 ศิลปิน 3 สไตล์ เช่น กฤช งามสม ถ่ายทอดความคิดเกี่ยวกับกลไกต่างๆ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สุวิทย์ มาประจวบ คิดค้นผลงานจากสำเพ็ง คลองถม และร้านของเล่น สิ่งของเหล่านี้คือแบบร่างที่อยู่ในหัวก่อนจะถ่ายทอดสู่รูปหุ่น 3 มิติ ส่วนประเสริฐ ยอดแก้ว ที่เป็นคนชอบคิดชอบเขียน แม้แบบร่างของเขาจะอยู่ในกระดาษแต่ลายเส้นนั้นสวยงามและทรงพลังไม่แพ้ผลงานจริง
                นิทรรศการแสดงต้นตอความคิดของศิลปิน “คิดได้ไง?! - The Sketch จะเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 30 เมษายน –1 มิถุนายน 2556 (จันทร์ – เสาร์ เวลา 10.00 – 20.00 น.) ณ หอศิลป์ตาดูไทยยานยนตร์ ชั้น 2 อาคารไทยยานยนตร์ สุขุมวิทซอย 87 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ (ลงรถไฟฟ้า BTS สถานีอ่อนนุช เดินมาอีก 3 ซอย) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 เวลา 18.00 น.    





วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

นิทรรศการ: รูปภาพในบ้านหลังที่หนึ่ง









ผู้ร่วมแสดงนิทรรศการ:  
            พล.ต.ท.ชัยยันต์ มะกล่ำทอง, สุริยะ ฉายะเจริญ, วีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ  อายิโน๊ะ, สุวิทย์ มาประจวบ,
            อนุรักษ์ ชัยคงสถิต, เรวัติ รูปศรี, เพียงขวัญ คำหรุ่น
สถานที่: หลังแรก บาร์
             (Hlung Raak Bar: บ้านเลขที่1 ซอยมหรรณพ1 ถนนมหรรณพ สำราญราษฎร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200)
ระยะเวลา: การเปิดงาน 19.00 น. วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2556
               เวลาแสดงงาน 2-30 พฤษภาคม 2556
               ตั้งแต่เวลา 11.00-24.00 น.
แนวคิด
            นิทรรศการรูปภาพในบ้านหลังที่หนึ่ง เป็นการแสดงผลงานจิตรกรรมอันหลากหลายที่แตกต่างทั้งในทางรูปแบบ เทคนิค และแนวความคิด หากแต่กลับเชื่อมโยงกันในด้านการติดตั้ง ซึ่งเป็นการจัดการที่มีบริบทของพื้นที่เป็นปัจจัยหลัก โดยแก้ปัญหาระหว่างพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ของบ้านเก่าที่เปิดเป็นร้านอาหาร กับการสมมุติพื้นที่ทางศิลปะ ซึ่งการจัดนิทรรศการเป็นการหาความกลมกลืนในความขัดแย้งของปัจจัยทางพื้นที่ จนเสมือนว่ารูปภาพแต่ละภาพมีเรื่องเล่าเป็นของตัวเองในพื้นที่ๆ ถูกทำให้กลายเป็นพื้นที่เฉพาะของแต่ละรูปภาพนั้น ดังนั้นพื้นที่ใช้สอยที่ถูกสมมุติให้กลายเป็นพื้นที่ทางศิลปะ จึงเป็นพื้นที่ๆ มีความพิเศษและความไม่พิเศษในขณะเดียวกัน นั่นหมายถึงการลดอำนาจของพื้นที่ทางศิลปะไปสู่ความเป็นพื้นที่แห่งความแบ่ง บันระหว่างการใช้สอยปัจจัยภายนอกและประสบการณ์ทางสุนทรียะ