นิทรรศการศิลปะ: คิดถึงอาจารย์ศิลป์ 50 ปี (ครั้งที่ 3: ปี2555)
คำโปรย: “ถ้าฉันไม่อยู่ นายคิดถึงฉัน นายทำงาน”
ศิลปิน : ชมรมศิษย์อาจารย์ศิลป์ พีระศรี
ระยะเวลา: วันที่ 14 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน 2555
สถานที่: Double Dogs Cafe
ความเป็นมา
สยาม
ประเทศในห้วงสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทาศิลป
วัฒนธรรมอย่างยิ่ง
ศิลปะในทางหนึ่งคืองานช่างฝีมือที่พัฒนาต่อมาจากอดีตแต่อีกรูปแบบได้รับ
อิทธิพลศิลปะแบบคลาสสิกของตะวันตก
ทั้งสองแนวทางแม้ว่าจะเกิดการประยุกต์ให้อยู่ร่วมกัน
ทว่าก็ไม่ได้เกิดเป็นนวัตกรรมทางศิลปะสมัยใหม่อย่างชัดเจน
ตราบ
จนการเข้ามารับราชการรวมไปถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรของนายคอร์ราโด
เฟโรจี หรือต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป์ พีระศรี
ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทางศิลปะแบบใหม่ขึ้นในสังคมสมัยนั้น
มีการเรียนรู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยเทคนิคตะวันตกผสมผสานเข้ากับวิถีแบบ
ตะวันออกจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสมัยขึ้น ด้วยคุณูปการของศาสตราจารย์ศิลปะ
พีระศรี
ในทางศิลปะทั้งด้านทฤษฎีองค์ความรู้และผลงานอันเกิดจากการสร้างสรรค์
ทำให้วงการศิลปะยกย่องท่านเป็น “บิดาศิลปะสมัยใหม่ไทย”
ศาสตราจารย์
ศิลป์ พีระศรี
ถือเป็นบุคคลสำคัญทางศิลปะในประเทศไทยที่ศิลปินไทยทุกยุคสมัยควรระลึกถึง
ตลอดเวลา นั่นเพราะวิถีชีวิตด้านต่างๆ
ของท่านไม่เพียงทุ่มเทให้กับอุดมคติทางศิลปะเท่านั้น
หากแต่ยังเป็นครูผู้ถ่ายทอดสรรพศิลปวิทยาอย่างไม่ระย่อตราบลมหายใจสุดท้าย
ในโอกาสที่ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นี้ จะเป็นวันครบรอบถึงแก่กรรม 50 ปี
ของท่าน กลุ่มศิลปินผู้ถือเป็นศิษย์อาจารย์ศิลป์ พีระศรี
ร่วมกันจัดนิทรรศการศิลปะขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงและบูชาศาสตราจารย์ศิลป์
พีระศรี บิดาศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ภายใต้นิทรรศการชื่อ “คิดถึงอาจารย์ศิลป์” ซึ่งปีนี้เป็นการจัดนิทรรศการขึ้นเป็นครั้งที่ 3
วัตถุประสงค์
1 เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะสู่สาธารณะ
2 เพื่อเป็นการระลึกถึงและบูชาครูบาอาจารย์ทางศิลปะโดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นสัญลักษณ์
3 เพื่อให้วันครบรอบวันถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งของวงการศิลปะไทย
4 เพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดนิทรรศการในวาระถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้กับคนในรุ่นต่อๆ ไป
5 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนคติและการทำงานร่วมกันของศิลปินผู้แสดงนิทรรศการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน