“woman” นิทรรศการศิลปะโดย 8 ศิลปินรุ่นใหม่
9-31 สิงหาคม 2555 (G floor and 2 floor @ Eight Thonglor)
หลักการและเหตุผล
HOF
Art องค์กรศิลปะอิสระมีจุดประสงค์หลักคือการเผยแพร่งานศิลปะชั้นเยี่ยมแก่บุคคลทั่วไปและสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ให้มีพื้นที่แสดงผลงาน
บริหารงานโดย จารุวัชร วงศ์คำจันทร์ ผู้เป็นทั้งศิลปินและภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการศิลปะมานานนับสิบปี
ด้วยแนวคิดที่ต้องการนำเสนอผลงานศิลปะที่มีคุณภาพสู่สาธารณะในหลายช่องทาง
ไม่ได้เพียงนำเสนอเฉพาะในพื้นที่แกลเลอรี่ (ตั้งอยู่รัชดาซอย19)
เท่านั้น HOF Art จึงร่วมมือกับ Eight Thonglor พื้นที่ซึ่งรวมทั้งโรงแรม
ที่พักอาศัยส่วนบุคคลและพื้นที่พาณิชย์ในแห่งเดียว ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพื่อเปิดประสบการณ์ทางด้านศิลปะให้แก่ผู้ใช้บริการในพื้นที่ซึ่งมีหลากหลายวัย
หลากหลายเชื้อชาติ ทั้งนี้ HOF Art
และ Eight Thonglor เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า
ศิลปะเป็นภาษาสากลที่สามารถสื่อสารได้กับคนทุกเพศทุกวัยทุกภาษา และทุกศาสนา
ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้
HOF
Art และ Eight Thonglor ขอนำเสนอนิทรรศการศิลปะเพื่อระลึกถึงผู้หญิงเนื่องในโอกาสวันแม่
โดยเปรียบการเกิดขึ้นของโครงการจัดงานศิลปะครั้งแรกครั้งนี้เหมือนทารกแรกคลอด
ทางคณะผู้จัดจึงได้ให้โจทย์ศิลปินเพียงหนึ่งคำเพื่อตีความหมายและสร้างงานศิลปะในรูปแบบเฉพาะบุคคล
ดังนั้นผลงานศิลปะที่จัดแสดงจะหลากหลายและแตกต่างกันออกไป แต่มีจุดร่วมกันคือทุกชิ้นงานนั้นแตกยอดมากจากคำว่า
“ผู้หญิง”
รายชื่อศิลปิน
กรกช งามพัตราพันธุ์บัณฑิตจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นักวาดภาพประกอบ
หลังจากหายหน้าไปทำธุรกิจส่วนตัวอยู่พักใหญ่
กรกชแบ่งเวลาหลังเลิกงานและสละวันหยุดเพียงวันเดียวในหนึ่งสัปดาห์เพื่อทำงานศิลปะร่วมในนิทรรศการ
ผลงานของกรกชสวยหวานไม่ต่างจากรูปร่างหน้าตาของเธอ
นัดดา
ธนทาน
ศิลปินหญิงรุ่นใหม่ ทำงานหลายประเภท มักทดลองทำสิ่งต่างๆที่เธอสนใจ ไม่ว่าจะจิตรกร
นักร้อง มือกีต้าร์ สไตล์ลิสต์ นางแบบ หรือนักพากษ์ นัดดามีความอ่อนไหวในผลงานสูง
ผลงานส่วนใหญ่แสดงความเป็นหญิงขัดแย้งกับรูปลักษณ์ที่ดูปราดเปรียว
นัดดาได้รับความสนใจจากสังคมศิลปะทั้งในและต่างประเทศ
ได้รับเชิญไปศิลปินในพำนักที่ประเทศเกาหลีในปี 2010
นฤมล จิโรจน์มนตรี บัณฑิตสาวจากคณะจิตรกรรม
ประติมากรรมและภาพพิมพ์
มีผลงานภาพพิมพ์ที่น่าสนใจ ผลงานขนาดไม่ใหญ่หากแต่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ชมได้อย่างน่าแปลกใจ
เสน่ห์จากรูปทรงง่ายๆและความตรงไปตรงมาของภาพ
ศิริกุล
อำนวยพร
ภาพลายเส้นง่ายๆที่เป็นเอกลักษณ์ของศิริกุล
ทำให้หลายคนทึ่งในมุมมองและการถ่ายทอดมาแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นศิลปินหรือคอลเลคเตอร์ต่างชาติ ศิริกุลไม่ได้ทำงานศิลปะเป็นหลัก
ลายเส้นเท่ๆของศิริกุลจะทำให้ทุกคนอมยิ้มได้ไม่ยาก
รพีพร เพียรชูพัฒน์
หลังจากใช้เวลา
7 ปีศึกษาและทำงานศิลปะในนิวยอร์ค เมื่อกลับมาเมืองไทย
ผลงานอันมีเสน่ห์ที่เคยฝรั่งหลงใหลก็ส่งผลไม่ต่างกันนักกับคนไทย
สิทธินนท์
พงษ์รักธรรม
งานของสิทธินนท์มักหลอกตาผู้ชมว่าเป็นภาพน่ารัก จากรูปทรงและสีสันที่ไม่จัดจ้าน
แต่ทว่ากลับมีความเศร้าเจืออยู่รอบๆในอากาศ
วีรพงษ์
ศรีตระกูลกิจการ (อายิโน๊ะ) ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ ฝีมือเยี่ยม
ผลงานของเขามีคนล่ำลือว่าเนียนเท่าพิมพ์จากเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท
สุวิทย์
มาประจวบ
ศิลปินหนุ่มอารมณ์ดี มักทำงานประติมากรรม
และในระยะหลังสุวิทย์ทำภาพเขียนล้อไปกับประติมากรรมด้วย